E-Signature VS Digital Signature คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร?

E-Signature VS Digital Signature คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร?

 

จากที่หลายๆ คนอาจสงสัยกันว่า E-Signature VS Digital Signature คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร? เป็นลายเซ็นแบบเดียวกันหรือไม่? มาค่ะ บทความนี้จะอธิบายให้ทุกท่านได้เข้าใจกันค่ะ

Admindd ADMIN DDSOFTTECH  ขอบคุณข้อมูลจาก : fusionsol , etda
  ปรับปรุงเมื่อ ส.ค. 03, 2023 Digital Signature E-Signature
 
 

Free vector signing a contract concept illustration

E-SIGNATURE คืออะไร ?

E-Signature ย่อมาจาก Electronic Signature : หรือ เรียกกันว่า ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น สามารถใช้เป็นตัวเลข อักขระ อักษร หรือสัญลักษณ์ต่างๆ มาสร้างเป็นชุดข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ และใช้เทคโนโลยีในการเข้ารหัสสำหรับยืนยันความเป็นเจ้าของ ทำให้มั่นใจ และตรวจสอบได้

 
 

DIGITAL SIGNATURE คืออะไร ?

ดิจิทัล ซิกเนเจอร์ : หรือ เรียกกันว่า ลายเซ็นดิจิทัล หมายถึง ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากการเข้ารหัสลับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อช่วยยืนยันความเป็นเจ้าของลายมือชื่อ และตรวจพบการเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ ทำให้เจ้าของลายมือชื่อไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดจากข้อความที่ตนเองลงลายมือชื่อได้

 

 
 

 ต่างกันอย่างไร ? 

E-Signature กับ ลายเซ็นดิจิทัล มีความแตกต่างกันตรงที่การรักษาความปลอดภัย และรูปแบบของลายเซ็น โดยที่ E-Signature เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่งที่ใช้อักษร อักขระ ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่างๆ มาออกแบบเป็นชุดข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงลายเซ็นบนกระดาษที่ถูกแสกนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถใช้เทคโนโลยีในการเข้ารหัสผ่าน สำหรับยืนยันตัวตนความเป็นเจ้าของข้อมูลนั้น ทำให้มั่นใจ และตรวจสอบได้ในระดับหนึ่งว่าเจ้าของข้อมูลนั้นคือใคร แต่อาจทำได้ยากกว่า ลายเซ็นดิจิทัล เพราะ E-Signature เป็นลายเซ็นที่ไม่มีใบรับรองจากองค์กรที่ออกใบรับรองลายเซ็นดิจิทัล

ส่วน ลายเซ็นดิจิทัล จะใช้กับเอกสารที่จำเป็นต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูล ต้องยืนยันความถูกต้อง และป้องกันการปลอมแปลง มีกระบวนการเข้ารหัสข้อมูล โดยเฉพาะเพื่อยืนยันตัวตนเจ้าของลายเซ็นอิเล็กทรนิกส์นั้น เช่น ลายนิ้วมือที่ต้องประทับลงในเอกสาร และต้องมีใบรับรองจากองค์กรที่ได้รับอนุญาตให้ออกใบรับรองลายเซ็นดิจิทัล จึงจะถือว่าได้รับการยอมรับ และมีผลทางกฏหมาย

 
 

 

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง E-SIGNATURE กับ DIGITAL SIGNATURE

ความเเตกต่างของเทคโนโลยีเเละฟังก์ชั่นการใช้งานระบบ รูปภาพจาก  codium.co

 

 

 


 

เริ่มต้นที่ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature หรือ e-Signature) ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่ การเซ็นชื่อลงบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ที่ รองรับการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทางกฎหมาย เช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อบนเอกสารกระดาษ ได้นิยามความหมายของ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไว้ว่าคือ 


อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใด ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคล ผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่า บุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น 
.

 
 

 info_e-Signature-05.jpg

การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิสก์ ที่กฎหมายรองรับ  : รูปภาพจาก  etda

 
 

ดังนั้น ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิสก์ ที่กฎหมายรองรับ อย่างน้อยต้อง

(1) ระบุเจ้าของลายมือชื่อได้ว่าเป็นของใคร หมายถึง สิ่งที่นิยามไว้ ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร ตัวหนังสือ ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์อื่นใด ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถระบุตัวเราได้ 
(2) ระบุเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อต่อข้อความที่ลงนาม เช่นเดียวกับกระดาษ เราคงไม่เซ็นชื่อไว้บนกระดาษเปล่า ๆ โดยไม่รู้ว่าเซ็นเพื่ออะไร ดังนั้นการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ก็ต้องใช้เพื่อประกอบกับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเพื่อแสดงว่า เราลงลายมือชื่อด้วยเจตนาอะไร
(3) ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ โดยจะดูจากวิธีการว่ามั่นคงปลอดภัยหรือไม่ มีลักษณะและขนาดเป็นอย่างไร ระบบการสื่อสารรัดกุมแค่ไหน ซึ่งกฎหมายต้องเขียนกว้าง ๆ เพื่อให้รองรับนวัตกรรมที่อาจจะมีการคิดค้นขึ้นมาอีกในอนาคต


ดังนั้นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงสามารถเป็นการเซ็นชื่อบน Tablet การพิมพ์ชื่อตอนท้ายของอีเมล การกดปุ่มยอมรับข้อตกลงหรือเงื่อนไขต่าง ๆ การใช้ Username-Password หรืออื่น ๆ ได้ทั้งหมด เพราะกฎหมายไม่ได้จำกัดกรอบหรือประเภทเทคโนโลยีไว้ แต่ได้ให้คุณสมบัติในการพิจารณาเอาไว้ ถ้าครบองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อก็ถือเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ และอยู่ภายใต้มาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ซึ่งจำง่าย ๆ เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบทั่วไป

 
   info_e-Signature-06_rev.jpg
ตัวอย่างการแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อ  : รูปภาพจาก  etda
 
    
ตัวอย่างการแสดงเจตนาของเจ้าของลายมือชื่อ เช่น เมื่อเราใช้บัญชีออนไลน์ของเรา ที่มีการกรอกข้อมูล รวมถึงชื่อ และสร้าง Password เพื่อเข้าใช้งาน นั่นคือสิ่งที่ใช้ระบุตัวเรา และเรานำบัญชีนี้ไปทำธุรกรรมบางอย่างทางออนไลน์ เช่น การทำสัญญาที่มีคำถามว่า "คุณตกลงทำสัญญาตามข้อความข้างต้นหรือไม่"  คำถามนี้ จะช่วยยืนยันว่า ได้ลงนามทำสัญญาในฐานะคู่สัญญา เมื่อเรากด "ยอมรับ" หรือ YES

การกด "ยอมรับ" หรือ YES เป็นการเจตนาในการยอมรับการดำเนินการต่อตามที่ข้อความถามมา ควบคู่กับ ระบบที่ต้องมีวิธีการที่เชื่อถือได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของคนออกแบบระบบที่ต้องเก็บข้อมูลได้อย่างครบถ้วน

 
 

 

info_e-Signature-07.jpg

ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ ตามมาตรา 26  : รูปภาพจาก  etda

 

 
  นอกจากลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฯ ยังมี มาตรา 26 ซึ่งให้ถือว่า ลายมือชื่อที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้
(1) ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อได้ 
(2) ข้อมูลที่ใช้สร้างลายมือชื่อ อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อ 
(3) สามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่อ/ข้อความ นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้น 

 
 

แล้วอะไรบ้าง คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

Free vector electronic contract agreement concept with business people signing documents online on blue background 3d isometric vector illustration

ลายมือชื่อดิจิทัล ตัวอย่างหนึ่งของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 26

ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) คือ ลายมือชื่อที่ได้จากกระบวนการเข้ารหัสลับ (Encrypt) ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวเจ้าของลายมือชื่อและตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่อได้ รวมถึงการทำให้เจ้าของลายมือชื่อไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดจากข้อความที่ตนเองได้แสดงเจตนาในการลงลายมือชื่อได้ 
ดังนั้น ลายมือชื่อดิจิทัล จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 26 หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้

 
   หากจะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ลายมือชื่อดิจิทัล คือตัวอย่างหนึ่งของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่เอาการเข้ารหัสหรือเทคโนโลยีมาช่วยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงได้นั่นเอง การใช้ลายมือชื่อดิจิทัล จึงเหมาะสำหรับเอกสารประเภทที่กฎหมายต้องการความรัดกุมและมั่นคงปลอดภัยเพิ่มขึ้น เพื่อคุ้มครองเจ้าของลายมือชื่อและคนที่ต้องเอาลายมือชื่อนี้ไปใช้ต่อ ว่าสามารถเชื่อถือได้



รวมคำถามและไขข้อสงสัยจากข้อมูลจาก etda

 


Visitors: 100,337